Blog:ผลงานเขียนของฉัน@Journalis

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สารคดีท่องเที่ยว


“สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองคนบางพลี”
“ก้มกราบหลวงองค์พ่อโตบางพลี ที่ลือนาม ประดิษฐานในอารามอยู่หลังภาพ ได้ชมแล้วน่าเลื่อมใส ไม่เคยหม่นหมอง องค์เนื้อทองสำริด สวยงามดังเทพประสิทธิ์ สถิตอยู่เหนือด้วยใจ”
บางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ มีทั้งหมด 6 ตำบล คือ บางพลีใหญ่ บางแก้ว บางปลา บางโฉลง ราชาเทวะ หนองปรือ และเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและน่าสนใจไม่น้อยกว่าอำเภออื่นในจังหวัดสมุทรปราการ เช่น วัดบางพลีใหญ่ใน(วัดหลวงพ่อโต) วัดบางพลีใหญ่กลาง(วัดพระนอน) ตลาดน้ำโบราณบางพลี ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนองงูเห่าฟาร์ม
สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักและนับถือของผู้คนจำนวนมาก และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ กราบไหว้เคารพบูชานับถือกันมาก นั่นก็คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ที่ผู้คนต้องมากราบไหว้ ขอพร เคารพบูชานับถือ วัดบางพลีใหญ่ใน ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ตำบลบางพลีใหญ่ มีเนื้อที่ 40 กว่าไร่ เดิมชื่อวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม โดยประชาชนทั่วไปเรียกว่า “วัดใหญ่หรือวัดหลวงพ่อโต” วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย(ปางสะดุ้งมาร) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน ตามประวัติเล่าว่า “ได้แสดงอภินิหารเสด็จลงแม่น้ำครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในครั้งที่ 2 และลอยน้ำลงมาทางใต้พร้อมกับพระพุทธรูปอีก 2 องค์
                    องค์พี่ คือ หลวงพ่อบ้านแหลม ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง แล้วขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม หรือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม องค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธรกลับลอยทวนน้ำไปถึงวัดวัดโสธรวรารามวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนหลวงพ่อโต เป็นองค์สุดท้อง ลอยมาหยุดที่วัดบางพลีใหญ่ในในจังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ใน จงเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านอำเภอบางพลี เป็นต้นมา
ได้มีโอกาสมากราบไหว้บูชาหลวงพ่อโต พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ รู้สึกอิ่มเอมใจ แม้อากาศจะร้อนอบอ้าวไปซะหน่อย สิ่งที่สังเกตตั้งแต่ลงรถแล้วเดินเข้าประตูทางเข้าวัด มองไปทางไหนๆไม่ว่าจะซ้ายหรือขวา ก็เจอแต่ผู้คนจำนวนมาก ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ พ่อค้าแม่ขาย นักท่องเที่ยว รู้สึกจ้อแจ่ คึกคักกันใหญ่ อาจจะเป็นเพราะวันหยุดพักผ่อนของใครหลายๆคนด้วยมั่ง ถึงทำให้วัดหลวงพ่อโตรู้สึกคึกคัก แต่อย่างไงก็ไม่รอช้าเดินเข้าไปภายในวัดกันเลยดีกว่า ระหว่างเดินไปก็เดินสวนกับผู้คนจำนวนมาก ก็ต้องค่อยหลบกันบ้างหลีกกันบ้าง ไหนจะร้านค้าของพ่อค้าแม่ขายตั้งขนาบอยู่ทั้งสองฝั่งข้างทาง ไหนจะค่อยหลบรถจักรยานยนต์ที่เข้ามาจอดใกล้ที่เข้าทำบุญกัน พอเดินไปถึงที่ที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ซื้อดอกไม้ ธูป เทียน ทองเปลวติดองค์หลวงพ่อโต เพื่อเไหว้หลวงพ่อโตในพระอุโบสถ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพบูชาต่อองค์หลวงพ่อโต
ตรงหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ มีน้องๆนักเรียนขอรับฝากรองเท้า จะมีตู้บริจาคตั้งไว้ใกล้กับที่น้องๆรับฝากรองเท้า ส่วนใครจะบริจาคเท่าไรก็ได้ แล้วแต่กำลังจิตศรัทธาของผู้บริจาค น้องๆบอกว่าเป็นการช่วยเหลืองานในวัดไปอีกอย่างหนึ่ง เพื่อนำเงินที่ได้จากการบริจาคไปเป็นเป็นค่าการศึกษา ค่าอาหารกลางวันของน้องๆเขา เป็นการลดภาระของโรงเรียนไปอีกอย่างหนึ่ง
มีน้องผู้หญิงคนหนึ่งยืนอยู่หน้าปากทางเข้าพระอุโบสถ ร้องประกาศด้วยปากเปล่าว่า “กรุณาไปวางรองเท้าข้างในนะคะจะมีเพื่อนรับฝากรองเท้าอยู่คะ เพื่อความเป็นเรียบร้อยด้วยนะค่ะ และรองเท้าของท่านจะได้ไม่หายด้วยนะค่ะ ขอบคุณคะ” บางคนก็ทำตามคำพูดของน้องบางคนก็ไม่ทำตาม อาจเพราะเขาเห็นตรงที่รับฝากรองเท้าคนเยอะวุ่นวายก็เลยถอดไว้ตรงที่ไม่วุ่นวายดีกว่ามั่ง แต่น้องๆก็ช่วยอำนวยความสะดวกกันอย่างเต็มที่ทั้งครูและลูกศิษย์ ใบหน้ายิ้มแย้มของต้อนรับผู้คนที่มากราบไหว้หลวงพ่อโต ถึงแม้บางคนไม่ได้ทำตามคำร้องประกาศของน้องเขา น้องเขาก็ไม่ไดแสดงสีหน้าอัปกิริยาไม่พอใจออกมาเสียสักนิด มีแต่รอยยิ้มใสๆของเด็กน้อยคนหนึ่งที่จะมอบให้แก่ผู้คนที่เข้ามาในพระอุโบสถหลังนี้
หลังจากได้ฝากรองเท้ากับน้องๆนักเรียนแล้วก็เดินเข้าไปด้านข้างพระอุโบสถจุด ธูป เทียน ไหว้หลวงพ่อโต ตรงด้านหน้าจะมีคำกล่าวบูชาหลวงพ่อโต เป็นคาถาบูชาองค์หลวงพ่อโต ตั้งไว้ให้นักท่องเที่ยวกล่าว หลังจากไหว้หลวงพ่อโตแล้ว ก็เดินเขาไปด้านในพระอุโบสถเพื่อติดทองหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถมีคนคับคั่ง เรียกได้ว่าหนาแน่นเลยเชียว มีทั้งคนที่นำของมาถวายหลวงพ่อโตเพื่อแก้บนมีทั้งไข่ต้ม ผลสลากหลากไม้ เป็นสิ่งที่สื่อให้เห็นคนที่นำของมาแก้บนแสดงว่าคำขอพร คำอธิษฐาน ที่ได้ขอหลวงพ่อโต เป็นไปดั่งสมใจนึก จึงมาแก้บนนำขอมาถวายหลวงพ่อโตทำให้ภายในพระอุโบสถดูคับแคบไปในถนัดตา ส่วนภายนอกข้างพระอุโบสถก็มีที่ให้ทำบุญเหมือนกับวัดอื่น เช่น ที่ตีฆ้อง ตีระฆัง ใส่บาตรประจำวัดเกิด ที่รดน้ำมนต์ เติมน้ำมันในตะเกียง ฯลฯ
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นไฮไลท์ของวัดหลวงพ่อโต ก็คือ “ห้องน้ำไฮเทค เพื่อประชาชน”โดยพระครูวิบูลธรรมานุกิจ (จรัล สิริธมฺโม) เจ้าคณะตำบลบางพลี เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน ได้เล็งเห็นถึงความสะดวกสบายของพุทธศาสนิกชนที่มากราบไหว้ขอพร ปิดทององค์หลวงพ่อโต ได้รับความสะดวก ในการใช้ห้องน้ำ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีความสุขกับการมาวัด จึงสร้างห้องน้ำไฮเทคขึ้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ใช้ประโยชน์
ครั้งแรกเดินเขาไปนึกว่าโรงแรมระดับ 5 ดาว ทำไมมันช่างดูหรูหรา สะอาด สวยงาม ขนาดนี้ ดูดีกว่าห้องน้ำบางทีสะอีก ห้องน้ำที่อื่นน่าจะเป็นอย่างนี้ได้สักครึ่งหนึ่งก็คงจะดีไม่น้อย บางคนเข้าไปในห้อน้ำไฮเทคบ้างก็เข้าไปถ่ายรูปบ้างก็เข้าไปปลดทุกข์บ้าง แต่เข้าไปถ่ายรูปดูจะเยอะกว่าเข้าไปปลดทุกข์สะอีกนะ
หลังจากไปแวะชมความความเลิศหรูอลังการของห้องน้ำไฮเทค แล้วก็เดินไปยังท่าน้ำของวัด ระหว่างทางเดินก็มีพ่อค้าแม่ขาย เปิดร้านขายของกันใหญ่ดูๆไปก็เหมือนตลาดนัดเสาร์อาทิตย์ตามหมู่บ้าน มีทั้ง ปลาสลิด ขนมจาก ผลไม้ดองแช่อิ่ม พืชผักในท้องถิ่น ของกิน เครื่องดื่ม ขนมหวาน ไอศกรีมโบราณ เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องร่างของขลังฯลฯ
มาถึงท่าน้ำของวัดก็เห็นเหล่าหมู่ปลาจำนวนต่างพากันมาโผล่หัวลอยคอ หน้าตาชูชื่น คอยรอรับอาหารจากผู้คนที่มาทำทานให้อาหารปลากันใหญ่ มีทั้งขนมปัง อาหารเม็ด วันนี้ดูท่าทางพวกปลาคงจะมีความสุขไม่น้อยที่ได้กินของโปรดเยอะแยะคงจะอิ่มไปทั้งวันเลยเชียว
จากการที่ได้เดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อโตในวันนี้ทำให้รู้สึกว่า “องค์หลวงพ่อโต”และวัดบางพลีใหญ่ ยังคงเป็นที่เคารพนับถือ และเป็นสิ่งที่อยู่คู่บ้านคู่เมือง ของชาวสมุทรปราการและพุทธศาสนิกชนทุกคนอย่างไม่เสื่อมคลาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้
ในอำเภอบางพลียังมีสถานที่ที่น่าสนใจและน่ามาเยี่ยมชมกันอีกหลากหลายสถานที่นอกจากวัดหลวงพ่อโตแล้วก็ยังมี วัดบางพลีใหญ่กลาง(วัดพระนอน) ตลาดน้ำโบราณบางพลี ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนองงูเห่าฟาร์ม ก็น่าสนใจอีกเช่นกันและได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และยังมีประเพณีที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก “ประเพณีรับบัว” ที่น่าสนใจและสัมผัสกับประเพณีวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบางพลี ที่ใกล้จะถึงในดือหน้านี้ ระหว่างวันที่ ๘ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ณ วัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) มากันร่วมสืบสานประเพณีรับบัวอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวบางพลี กันนะคะ.
วิภาวรรณ พุทธหอม 5354006123 สาขาวารสารศาสตร์สื่อประสม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

สารคดีเชิงข่าว


“ปัญหาชาวนาไทยลดลงไม่มีคนปลูกข้าว อนาคตคนไทยอาจขาดข้าว”



ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้นๆของประเทศไทย แต่ชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติก็ยังมีฐานะยากจนและมีหนี้สินมากมาย พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวกลับมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัด กลับเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหารเป็นส่วนใหญ่ อายุเฉลี่ยของชาวนาปัจจุบันอยู่ที่อายุ 47 – 51 ปี โดยพบว่าคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไม่นิยมทำนา ส่วนใหญ่จะเข้าเมืองหางานทำ ทำให้น่ากังวลว่าอนาคตข้างหน้าจะทำอาชีพชาวนาลดลง และยังมีปัญหาอีกหลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวนา
ไม่ว่าจะเป็น  ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ปัญหาต้นทุนการผลิตข้าวสูง เช่น ราคาน้ำมันแพง ปุ๋ยราคาแพง ปัญหาการเช่าที่ดินทำนาไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางทำให้ผลผลิตขายได้ราคาถูก ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ปัญหาการคุกคามจากศัตรูพืช ปัญหาการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต ชาวนาส่วนใหญ่จะจ้างแรงงานแทนการทำนาเอง เช่น จ้างหว่านปุ๋ย - ฉีดยา จ้างรถเกี่ยวข้าว เป็นต้น สิ่งนี้คือปัญหาที่เกิดกับปัญหาชาวนาซ้ำๆซาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมาใหม่และเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงยิ่งนักก็คือ “ปัญหาชาวนาไทยลดลงไม่มีคนปลูกข้าว อนาคตคนไทยอาจขาดข้าว”
จากการที่ได้ไปพูดคุยกับท่านเลขาธิการมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.ขวัญใจ โกเมศ พูดถึงการปลูกข้าวสมัยอดีตกับปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างไร ท่านกล่าวว่า “สมัยอดีตชาวนาปลูกข้าวเพื่อกินในครัวเรือนก็จะใช้พันธุ์ข้าวที่ตนเองชอบกิน แต่พอปัจจุบันปลูกข้าวไว้เพื่อขายก็ต้องปลูกพันธุ์ข้าวที่พอขายได้หรือเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวก็จะส่งให้โรงสีทั้งหมด บางทีต้องไปซื้อข้าวที่ตลาดมากิน ไม่มียุ้งฉางให้เก็บเหมือนสมัยอดีต วิธีการทุกอย่างจะแตกต่างไปจากอดีตอย่างมาก ส่วนเทคโนโลยีสมัยอดีตไม่ต้องไปพึ่งพาเทคโนโลยีในการเร่งผลผลิต ไม่ต้องซื้อยา ใส่ปุ๋ย ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ผิดกลับสมัยปัจจุบันต้องปลูกข้าวที่ตลาดต้องการ ต้องมีผลผลิตเยอะๆ ต้องมีกำไร จึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มผลผลิต ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการปลูกข้าวอย่างเห็นได้ชัดเจน
ปัญหาอันดับแรก ที่พูดถึงกันในวันนี้ คือ พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัด กลับเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหารเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเพราะอาชีพชาวนามีความเสี่ยงสูง ใช้ต้นทุนสูงในการผลิต และส่วนใหญ่ราคาหรือผลกำไรจากการขายข้าวจะได้น้อยกว่าค่าต้นทุนในการผลิตเสียอีก พูดง่ายก็คือราคาข้าวตกต่ำ ถ้าเทียบกับการปลูกยางพาราหรือพืชที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงานที่ไม่ต้องดูแลรักษาผลผลิตอะไรมากมาย แต่ได้ค่าผลผลิตผลตอบแทนที่สูงกว่า
“ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศไทยผลิตข้าวได้ไม่มากพอที่จะมีเหลือเพื่อส่งออก  หรืออาจถึงขั้นวิกฤตที่ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศด้วยซ้ำ  หากปล่อยให้เป็นเช่นนั้นต่อไป ก็น่าเสียดายที่คนไทย โดยเฉพาะชาวนาไทยจะต้องสูญเสียความภาคภูมิใจในข้าวไทยที่มีมานาน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก”  ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลก็ได้หาแนวทางแก้ไขมาหลายครั้งแต่ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจของชาวนามากนัก ไม่ว่าจะเป็นโครงการของการรับจำนำราคาข้าวกับการประกันราคาข้าว ในความคิดของท่านเลขาธิการมูลนิธิข้าวไทยฯ เห็นว่าโครงการรับประกันราคามีประโยชน์ต่อชาวนามากที่สุด “เพราะเป็นการค้าขายแบบเสรี ชาวนาจะค้าข้าวเมื่อไรก็ได้ บิดเบือน  เป็นการประกันว่าชาวนาจะขายข้าว ได้ไม่ต่ำกว่าหมื่นบาท (และจะปรับขึ้น ในปีต่อไป) แม้ว่าราคาข้าวในท้อง ตลาดจะเป็นเท่าไรทางรัฐจะชดเชยส่วนที่ขาดหายไปให้ ปัญหาทุจริตคอรัปชันจากเจ้าหน้าที่รัฐมีน้อยมากเพราะเงินสู่มือชาวนาโดยตรงผ่านธนาคาร
ธ.ก.ส.” ในของส่วนโครงการรับจำนำข้าว “เป็นโครงการที่มีการทุจริตคอรัปชั่นสูง ชาวนาจะได้รับเป็นเงินสดทันทีเมื่อขายข้าว  จะทำให้ราคาข้าวในท้องตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากถ้าพ่อค้าไม่รับซื้อ ในราคาสูงก็ไม่มีข้าวขายเพราะรัฐจะซื้อเองหมด”
แต่ชาวนาจะชอบโครงการรับจำนำข้าวมากกว่าเพราะได้เงินสดกลับมาทันที นำเงินไปใช้จ่ายได้เลย ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลตอบแทนระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ซึ่งสิ่งนี้ชาวนาน่าจะทบทวนสักนิดว่าโครงการไหนมีประโยชน์กับตัวเองมากที่สุด
และยังมีเรื่องของภัยธรรมชาติที่ยากต่อการควบคุม ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม จึงทำให้ชาวนาเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เพื่อความอยู่รอดของชีวิตเขา นี้ก็คือปัญหาอีกอย่างหนึ่ง เราจะต้องสอนให้ชาวนารู้จัดกับการจัดการในการทำนา รายได้ และความเสี่ยงให้น้อยลง “อยากจะทางภาครัฐบาลมาแก้ไข้ปัญหาระยะยาวมากกว่าที่จะมาแก้ไข้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ อาจจะเรื่องของการชลประทานเข้ามาช่วยของน้ำท่า มีการส่งเสริมงานวิจัยเรื่องพัฒนาพันธุ์ข้าว ให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมทนต่อสภาพอากาศในปัจจุบัน”
ปัญหาอันดับสอง จำนวนชาวนามีแนวโน้มลดลง อายุเฉลี่ยของชาวนาจะอยู่ที่อายุ 47 – 51 ปี โดยพบว่าคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไม่นิยมทำนา ส่วนใหญ่จะเข้าเมืองหางานทำ ทำให้น่ากังวลว่าอนาคตข้างหน้าจะทำอาชีพชาวนาลดลง “อาจจะเพราะพ่อแม่ที่เป็นชาวนาไม่อยากให้ลูกหลานลำบากเหมือนตนเองจึงส่งเสียให้ลูกหลานได้เรียนสูง ยอมแม้กระทั่งไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อที่จะส่งให้ลูกๆหลานได้เรียนสูงๆ จะได้มีทางเลือกในชีวิตมากขึ้น ส่วนปัจจุบันราคาสูงขึ้น ทำให้เห็นถึงความสำคัญของชาวนามากขึ้น ทำให้วัยหนุ่มสาวหันกลับมาปลูกข้าวอีกครั้งเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ”
เมื่อพูดถึงปัญหาจำนวนชาวนามีแนวโน้มลดลง ท่านเลขาธิการมูลนิธิข้าวไทยฯได้พูดถึง โครงการ อนุชนชาวนาไทย ความอยู่รอดของข้าวไทย เป็นโครงการเพื่อปลูกจิตสำนึกและบ่มเพาะแนวคิดให้เยาวชนไทยตระหนักถึงความสำคัญของข้าวต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย  สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนลูกหลานชาวนาเรียนรู้เทคโนโลยีและการจัดการที่ทันสมัยเพื่อเป็นชาวนารุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์และปรับปรุงวิถีชีวิตของชาวนาไทยในยุคใหม่ให้ดีขึ้น โดยนำลูกหลานชาวนาที่มีอาชีพทำนาจริง มีความสนใจในการเกษตร มาร่วมโครงการซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี “ลูกหลานชาวนาบางคนก็นำสิ่งที่ได้รับความรู้จากการอบรมไปพัฒนาพื้นนาของตน หรือบางคนอยากจะเป็นนักวิจัยพันธุ์ข้าวเองด้วยซ้ำ ซึ่งก็ถือเป็นผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก”
ประเทศไทยเราเป็นที่มีการส่งออกข้าวมากที่สุดและนำรายได้เข้าประเทศเป็นกอบเป็นกำ อยากจะฝากให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันไม่ว่าจะภาครัฐบาล ศูนย์งานวิจัย แม้กระทั่งตัวชาวนาเองก็ตาม ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว และมองการณ์ไกล เพื่อให้อาชีพชาวนาไทยให้ดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและยั่งยืน ส่งเสริมให้ชาวนารู้จักการจัดการผลผลิต เงินทองของตนเอง และเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการจัดการการทำนาที่ทันสมัย จะช่วยปรับปรุงวิถีชีวิตของชาวนาไทยในยุคใหม่ให้ดีขึ้น กระตุ้นให้ชาวนาไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวเพื่อการค้า สามารถแข่งกับประเทศอื่นๆ ได้ดี
วิภาวรรณ พุทธหอม 5354006123 สาขาวารสารศาสตร์สื่อประสม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

Adobe Photshop CS3


สร้างสรรค์งาน# Adobe Photshop







ผลงานการวาด#Adobe Illstartor CS3