Blog:ผลงานเขียนของฉัน@Journalis

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เปรียบเทียบแม่ว่าเหมือนอะไร???


ฉันเปรียบเทียบแม่ของฉันเหมือนไก่ของผู้พัน KFC แต่ต้องเป็นไก่ทอด (ฮอทแอนด์สไปซี่)
ไก่สดคัดพิเศษชุบด้วยเกล็ดขนมปัง คลุกเคล้ากับผงพริกและเครื่องเทศ จากนั้นนำไปทอดจนสุกเหลืองกรอบหอมกรุ่นพร้อมเสิร์ฟ เพราะบ้างครั้งคำพูดของแม่ฉันอาจจะดูรุนแรงและไม่หวานหรือนิ่มนวลสักเท่าไรนักเหมือนผงพริกและเครื่องเทศของไก่ทอด (ฮอทแอนด์สไปซี่)ที่เผ็ดร้อน
อาจจะมองเหมือนคนห้าวหาญพูดจาไม่หวานซึ้งอะไรมากนัก คอยดุคอยบ่นในยามที่เราทำอะไรผิดๆไม่เข้าท่า จึงดูเหมือนคนแข็งๆเปรียบเหมือนหนังไก่ทอดกรอบ แต่ความจริงข้างในลึกๆแม่เป็นคนที่นุ่มนวลเหมือนไก่ทอดกรอบนอกนุ่มใน ที่แม่คอยเตือนสั่งสอนเราเพราะเขารักเราและเป็นห่วงเรามากจึงทำเช่นนั้น.
วิภาวรรณ พุทธหอม 5354006123 สาขาวารสารศาสตร์สื่อประสม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

“จากปากไกด์วัดโพธิ์”

                   นับเป็นข่าวดีและน่าภาคภูมิใจของไทยทั้งทั้งประเทศ ที่อยู่เนสโกประกาศขึ้นทะเบียนจารึก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า วัดโพธิ์ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of The World) ในบัญชีนานาชาติ
                วัดโพธิ์ เดิมชื่อวัดโพธราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานีและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บรูณะปฎิสังขรณ์วัดโพธราม เมื่อปี 2331 แล้วพระราชทานชื่อว่าวัด พระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พระเชตุพนวิมลมังคลาราม
                จุดเด่นของวัดโพธิ์ ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการเดินทางมาวัดโพธิ์ต้องดูต้องชม คือ พระวิหารพระพุทธไสยาส จารึกฤาษีดัดตน ตำราแพทย์ฉบับหลวง ที่สำคัญวัดแห่งนี้เป็นที่ตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณและการนวดแผนโบราณ ที่มีชื่อเสียงก้องโลก
                ถึงจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมความงามของวัดแห่งนี้ต่อเดือนจำนวนมาก ทำให้อาชีพหนึ่งในวัดแห่งนี้รู้สึกคึกคักและมีรายได้เข้ากระเป๋านั้นก็คือ ไกด์หรือมัคคุเทศก์ในวัดโพธิ์ นั้นเอง แต่ปัจจุบันนี้รายได้กลับลดน้อยลงกว่าเดิม
                ฉันได้มีโอกาสได้พูดคุยกับไกด์คนหนึ่งที่เป็นไกด์ประจำวัดโพธิ์ คือ ลุงนะนั้นเอง ลุงนะทำงานเป็นไกด์มาตั้งแต่อายุ 21 ปีจนมาถึงปัจจุบัน ก็ประมาณ 30 ปี ลุงนะเราให้ฟังว่า “ลุงเรียนจบรัฐศาสตร์ (การทูต)จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง กว่าจะจบก็เล่นเอาหลายปีเหมือนกันเพราะแกบอกว่าแกเป็นคนหัวทื่อ พอแกเรียนจบแกก็ไปสอบเป็นนักการทูตที่จุฬาฯแต่ก็ไม่ติดจึงเบนเข็มมาสอบเป็นไกด์ที่ธรรมศาสตร์แทนแล้วก็ได้เป็นไกด์ในทุกวันนี้”
                พอลุงนะสอบเป็นไกด์ได้สำเร็จแกก็ไปทำงานตามบริษัททัวร์สักพักแต่ลุงบอกว่า “ลุงเป็นคนเบื่อง่าย ไม่ชอบทำอะไรจำเจ และต้องทำงานตามคำสั่งใคร แกไม่ชอบ แล้วอีกอย่างอายุลุงก็เพิ่มขึ้นคงไม่ไหวที่ทำงานแบบนั้น ลุงจึงมาทำงานเป็นไกด์ในวัดโพธิ์ เพราะมีพระในวัดโพธิ์ที่รู้จักกันชวนมาทำ จึงได้มาเป็นไกด์ที่นี้”
                ลุงนะพูดได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษกับภาษาญี่ปุ่น แต่ส่วนใหญ่ไกด์ในวัดโพธิ์จะพูดภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศล ไกด์ในวัดโพธิ์มีทั้งหมด 14 คน จะมีการจับคิวกันแต่ละเดือนว่าใครได้คิวไหน แล้วก็เรียงกันตามคิวนั้นไม่มีการแย่งนักท่องเที่ยวกัน ลุงนะบอกว่า “จะมาทำงานกี่โมงก็ได้จะกลับกี่โมงก็ได้ตามใจเราไม่ Fix เรื่องเวลาไม่มีใครมาเป็นนายเราเพราะเราเป็นนายตัวเราเอง ถ้าเราไม่มาคิวที่เขาต่อเราเขาก็ดีใจเพราะจะเลื่อนขึ้นมา”
                ฉันถามลุงนะว่าส่วนใหญ่ลุงนะจะรับลูกทัวร์ประเทศไหนประจำ ลุงนะบอกว่า “ลุงก็ต้องรับลูกทัวร์ชาวอังกฤษ และก็ญี่ปุ่นสิ เพราะลุงพูดภาษาเขาได้เนี่ย” แล้วฉันถามอีกว่าแล้วนักท่องเที่ยวชาวไทยล่ะเขาไม่จ้างไกด์หรอ ลุงนะบอกว่า “ส่วนใหญ่เขาจะไม่เอาไกด์หรอกเขาจะเดินดูของเขาเอง แล้วลุงก็ไม่อยากจะรับเพราะนักท่องเที่ยวชาวไทยถามมากถามเป็นชั่วโมงเสียเวลา ให้เงินก็น้อยด้วย” และเดือนไหนที่นักท่องมาเที่ยวมากที่สุด ช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะเพราะเขาหนีหนาวมา ฉันถามลุงนะอีกว่ามีไหมวันไหนไม่ได้ลูกทัวร์เลย ลุงนะบอกว่า ปีหนึ่งจะมีครั้งถึงสองครั้ง อ้าว!!!แล้วลุงทำไงอ่ะ “ลุงก็ต้องใช้เงินเก่าเงินเก็บเอา”
                ฉันถามลุงนะว่าเสน่ห์วัดโพธิ์ไหนอยู่ที่ไหน ลุงนะบอกว่า น่าจะเป็นวัดที่มีพระนอน(พระพุทธไสยาส)ที่มีองค์ใหญ่และงดงามที่สุดในประเทศไทยที่ลงลักปิดทองและก็อยู่ในวิหาร เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก มีพระพุทธรูปมากที่สุดถึง 1,250 รูปตามพระพุทธประวัติในวันมาฆบูชา
ฉันถามลุงนะว่าดีใจไหมที่วัดโพธิ์ได้ถูกจารึกว่าเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ลุงนะบอกว่า “ดีใจสิจะได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเยอะๆลุงได้จะมีรายได้เข้ากระเป๋า” ฉันถามลุงนะอีกว่าลุงรักอาชีพนี้ยัง ลุงนะบอกว่า “รักสิ รักเลย ถ้าไม่รักก็ทำไม่ได้”
ฉันถามลุงนะว่าไกด์ในอดีตกับปัจจุบันนี้แตกต่างกันบ้างไหม ลุงนะบอกว่า “ไม่แตกต่างเท่าไรหนักเพราะต่างก็ทำงานเพื่อหาเงินไปเป็นค่าครองชีพ”ลุงนะบอกว่าสมัยก่อนไกด์ในวัดโพธิ์บูมBoomมากเพราะเปิดประตูเดียวผิดกับปัจจุบันเปิดถึงสามประตูและด้วยพิษเศรษฐกิจโลกด้วยล่ะ ทำให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวจะเที่ยวแบบประหยัดเป็นการเซฟเงินในกระเป๋าเขาด้วย และอีกอย่างความไม่แน่นอนทางการเมืองของบ้านเรา จึงทำให้รายได้ซบเซาลงไปด้วย
ไกด์หรือมัคคุเทศก์เป็นอาชีพหนึ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมือง ถึงวัดโพธิ์จะได้รับการจารึกว่าเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกก็ตาม และถึงนักท่องเที่ยวจะแห่กันเข้ามาชมความงามของโพธิ์ แต่ก็มาเที่ยวกันแบบประหยัด จึงทำให้รายได้ของไกด์หรือมัคคุเทศก์ก็ลดน้อยลงตามไปด้วย เพราะต่างคนก็ต่างต้องประหยัดและเซฟในเงินกระเป๋าของตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในยามเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้.



วิภาวรรณ พุทธหอม 5354006123 สาขาวารสารศาสตร์สื่อประสม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

อิทธิพลสังคมออนไลน์”Social Media”


ทุ
กวันนี้ พวกเราหลายคนใช้ชีวิตอยู่กับ Social Network และ Social Media มากขึ้นทุกวัน แต่พอพูดถึง “Social Media” ว่าคืออะไร หลายคนที่ใช้อยู่ ก็ยังไม่รู้ความหมาย และตอบไม่ได้ว่ามันคืออะไร และไม่รู้จะอธิบายอย่างไร จึงจะขออธิบายว่า
Social หมายถึง สังคมออนไลน์
Media หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ
“Social Media” จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์  ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น “Social Media” 
กำลังเป็นที่นิยมมาในปัจจุบันทั้งในแง่ของธุรกิจ และ ในแง่ของคนทั่วไป และด้านสื่อมวลชนด้วย
“Social Media” ในแง่ของคนทั่วไป
มีการสำรวจการใช้งาน Social Media น่าสนใจจาก  Retrevo Gadgetology Report ทำการสำรวจพฤติกรรมผู้คนที่มีต่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ สุดฮิตพบว่าเว็บไซต์อย่าง Facebook Twitter ตลอดจน Myspace และอื่นๆ ช่างมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์โลกในยุคปัจจุบัน โดยผู้ใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เกือบครึ่งหนึ่งทีเดียวที่บอกว่า พวกเขาเช็คข้อความ ความเคลื่อนไหว Facebook และ Twitter บนเตียงก่อนนอน รวมทั้งตอนตื่นในตอนเช้า และ 16% ของจำนวนผู้ใช้บอกว่าได้รับข้อมูลข่าวสารประจำวันจากเว็บไซต์ เหล่านี้ สาเหตุที่ทำให้ผู้คนใช้เวลาอันมีค่าของเขาไปกับการแบ่งปันข้อมูลกับ เพื่อน ครอบครัว หรือบริษัท แน่นอนเรารู้คำตอบอยู่แล้วว่ามันสนุก และแถมยังมีรางวัลมาล่อตาล่อใจไม่ว่าจะเป็นเงินหรือความมีชื่อเสีย
“Social Media” ในแง่ของธุรกิจ
ผลการวิจัยล่าสุดชี้ Social Media มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคมากขึ้น 7 ใน 10 คนใช้เป็นแหล่งหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ แนะบริษัทหันมาวางแผนกลยุทธ์อย่างจริงจัง แม้จะไม่ได้ดำเนินธุรกิจออนไลน์ เพราะผู้บริโภคนิยมสนทนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และยี่ห้อสินค้าในสังคมออนไลน์ อาจกล่าวได้ว่า Social Media คือกระแสความนิยมอย่างกว้างขวาง และใน 2551 ที่ผ่านมา Social Media ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า Social Media ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น แต่นักธุรกิจและมืออาชีพแขนงต่างๆ ได้หันไปใช้ Social Media มากขึ้น ทำให้ Social Media กลายมาเป็นสื่อในสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลอย่างมาก
 โดยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะข้อหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือ สินค้ายี่ห้อต่างๆ จากเว็ปไซต์ Social Media ไปพร้อมๆ กับหาข้อมูลโดยตรงจากเว็ปไซต์ของบริษัทผู้ผลิต โดยผู้บริโภค 7 ใน 10 ราย จะเข้าไปหาข้อมูลในเว็ปไซต์ Social Media ต่างๆ อาทิ เว็ปบอร์ด กลุ่มชุมชนออนไลน์ หรือ บล็อกต่างๆ เพื่อหาข้อมูล นอกจากนี้ เกือบครึ่ง (49%) ของผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้จาก Social Media เหล่านี้ ความนิยมของ Social Media ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อมาตรวัดความสำเร็จด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ของภาคธุรกิจอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่องค์กรธุรกิจต่างๆ จะหันมาให้ความสนใจกับ Social Media Marketing มากขึ้น (ผลวิจัยจากThe Wave 3 Report ของ Universal Maccan)

“Social Media” ในแง่ของสื่อมวลชน
 Social Media จะแตกต่างจากสื่อดั้งเดิม ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ตรงที่มันมีลักษณะของการสื่อสาร 2 ทาง (2-way communication) ลักษณะเด่นและเสน่ห์ของ Social Media คือ การมีส่วนร่วมเพราะผู้เสพสื่อหรือผู้รับสารสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน
ปัจจุบันนี้นักข่าวมีการส่งข่าวหรือข้อมูลผ่านทาง Twitter ซึ่งเป็นข้อความสั้นเพียง 140 ตัวอักษร มีโอกาสมากที่จะกลายเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดหรือผิดความหมายที่ต้องการจะสื่อ ดังนั้นนักข่าว สื่อมวลชนจะต้องยึดหลักจริยธรรมสื่อวิชาชีพในการใช้สื่อใหม่อย่าง Social Media ทุกประการเพียงแต่อาจจะต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมเข้ามาในลักษณะของข้อควรระวัง เพราะ Social Media มีความต่างจากสื่อดั้งเดิม ในเรื่องของความเร็ว การสื่อสารสองทาง และการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายสังคม
ถ้า
ให้สรุปก็คือ Social Media คือเรามีสื่อเป็นของตัวเอง และสามารถใช้สื่อที่เรามาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลของเราได้ ในอดีตการรับข่าวสารข้อมูลจะมาจากโทรทัศน์ วิทยุ หรือ หนังสือพิมพ์เท่านั้น ซึ่งเราไม่มีสิทธิในการแก้ไขข้อมูล หรือ ส่ง Feedback กลับไปยังต้นกำเนิดของเนื้อหา Social Media เป็นสิ่งที่ใหญ่และกว้างขวาง ดังนั้นจึงมีทั้งในด้านที่ดี และ ด้านที่ไม่ดี ดังนั้นผู้ใช้ควรที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และ คำนึงถึงผลจากการใช้ สื่อ Social Media ของตัวเองด้วย
        วิภาวรรณ พุทธหอม 5354006123 สาขาวารสารศาสตร์สื่อประสม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน